วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงงานวิทยาศาสตร์ผสมเศษเทียนสมุนไพรไล่ยุง



โครงงาน 

เรื่อง เศษเทียนผสมสมุนไพรไล่ยุง

 

ผู้จัดทำ  

  

                                        นางสาวกฤษณวรรณ์     กังแฮ          เลขที่ 8   ปวช. 2/2

 

                                        นางสาววันวิสา             ทองสงค์      เลขที่ 9   ปวช. 2/2

 

                                        นางสาวมุครินทร์          ไทรทอง       เลขที่ 12 ปวช. 2/2

 

 

อาจารย์ที่ปรึกษา 

 

อาจารย์อาทิตย์  จันทร์ดี

 

 

วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร

 


 

 

กิตติกรรมประกาศ


โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เศษเทียนผสมสมุนไพรกำจัดยุง จัดทำขึ้นเพื่อทดลองเกี่ยวกับ กระกำจัดยุงโดยใช้ สมุนไพรจากธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบันมาผสมกับกับเศษเทียนที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดหากการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ มีการผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย 

คณะผู้จัดทำ

 

 

 


บทคัดย่อ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เศษเทียนผสมสมุนไพรกำจัดยุง นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1.เพื่อเป็นการนำเศษเทียนที่เหลือใช้แล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์  2.เพื่อศึกษาว่าเศษเทียนผสมกับพืชสมุนไพรไล่ยุงได้ 3. เพื่อศึกษาชนิดของสมุนไพรกับการไล่ยุง ขั้นตอนแรก เรานำวัสดุที่ได้มาทำการแยก ออกเป็นสัดส่วน เพื่อเตรียมว่าจะใช้อะไรในการทำก่อน ก่อนแรก เรานำยุงที่ได้มาขังไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วทำขั้นตอนต่อไป คือ การนำสมุนไพรที่เตรียมไว้แต่ละชนิดมาผสมกับเศษเทียนมาปั่นเข้าด้วยกัน ตามแต่ละชนิดที่กำหนดไว้ แล้วนำมาตากแห้ง มีทั้งกรองสมุนไพรออกและไม่กรองสมุนไพรออกเพื่อนำมาทำการเปรียบเทียบกัน และทำการทดลองในขั้นต่อไป


 

 

 

บทที่ 1

บทนำ

 

ที่มาและความสำคัญ ของโครงงาน

  เนื่องจากกลุ่มของดิฉันได้มีการสังเกตปัญหาจากที่บ้าน ที่ชุมชนของแต่ละคน มักจะมียุง เป็นจำนวนมาก กลุ่มของดิฉันจึงได้มีการคิดกันว่า จะทำอย่างไรให้ช่วยขจัดยุงเหล่านี้ได้ กลุ่มของดิฉันจึงคิดค้น ประดิษฐ์ สารขจัดยุงนี้มากเพื่อให้ในครอบครัว และชุมชน

 

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 

1. เพื่อศึกษาว่าเศษเทียนผสมกับพืชสมุนไพรไล่ยุงได้

 

สมมติฐาน 

1. เศษเทียนผสมกับพืชสมุนไพรสามารถไล่ยุงได้ 

 

ขอบเขตการศึกษา
                  เศษเทียนที่หลอมเหลวแล้วผสมกับตะไคร้หอมปั่นตากแห้ง และ เปลือกมะกรูดปั่นตากแห้ง

 

 วิธีการดำเนินงาน

อุปกรณ์ในการทดลอง 

  1.  เปลือกมะกรูด ที่ปั่นให้ละเอียดแล้วนำไป ตากแห้ง ½ กิโล

  2.  ตะไคร้หอม ที่ปั่นให้ละเอียดแล้วนำไป ตากแห้ง ½ กิโล

  3.  เศษเทียน ½ กิโล

  4.  สีผสมอาหาร 4 สี

  5.  พาราฟิน ½ กิโล

  6.  โพลีแอททีลีนแว๊กซ์ P.E.  1 ช้อนโต๊ะ

  7.  ไมโครแว๊ก 1 ช้อนชา

  8.  สเตียริคแอซิด 1 ช้อนโต๊ะ

  9.  ไส้เทียน 3 เส้น

10.  เครื่องปั่นผลไม้

11.  ถ่าน

12.  เตาอั้งโล้ 

13.  ตะแกรง 

14.  หม้อ 3 ใบ 

15.  จวัก 

16.  น้ำเปล่า 500 มล. 

17.  แม่พิมพ์

18.  ที่คีบถ่าน

19.  มีด

20.  เขียง

21.  ถาด

22.  ช้อนโต๊ะ

23.  ช้อนชา

24.  ไม้ฟืน

25.  กล่องนมหมี 2 กล่อง ปริมาตร 8 x 8.5 x 7”

26.  ถุงพลาสติกใส

27.  กรรไกร

28.  กาวหนังไก่

 

ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง

ตัวแปรต้น ตะไคร้หอมปั่นตากแห้ง เปลือกมะกรูดปั่นตากแห้ง

ตัวแปรตาม ไล่ยุงได้
ตัวแปรควบคุม
     * ใบตะไคร้หอมปั่นตากแห้ง
     * เปลือกมะกรูดปั่นตากแห้ง
     * กล่อง
     * ยุงในตู้จำนวนหลังละ
     * ใช้เวลาในการทดลอง


ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน  
     1. ทำให้ได้ทราบว่าชนิดของสมุนไพรสามารถไล่ยุงได้





บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง


 



มะกรูด


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Citrus hystrix  DC.

ชื่อสามัญ :   Leech lime, Mauritus papeda
วงศ์ :   Rutaceae
ชื่ออื่น :  มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ราก ใบ ผล ผิวจากผล
สรรพคุณ : ราก -  กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย
ผล - น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด
ผิวจากผล 
    - ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
    - เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ
ฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วยโดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน


ตะไคร้
ตะไคร้ : (Takhrai), Lemongrass
วิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
 วงศ์ : GRAMINEAE
 ชื่ออื่นๆ : ภาคเหนือ เรียก จะไค (Cha-khai) จะไค้ (Cha-khai), ภาคใต้ เรียก ไคร (Khrai),ชวา เรียก ซีเร (Sere)

ลักษณะโดยทั่วไป 

โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่

§  ตะไคร้กอ
§  ตะไคร้ต้น
§  ตะไคร้หางนาค
§  ตะไคร้น้ำ
§  ตะไคร้หางสิงห์
§  ตะไคร้หอม
         เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

การปลูกและขยายพันธุ์

ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว
         ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จำนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากแดดให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม

สรรพคุณ

ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียร ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้

วิธีทำน้ำตะไคร้ไว้ดื่ม

                นำต้นตะไคร้มาทุบแล้วใส่ลงไปต้มในน้ำที่กำลังเดือดพล่าน รอจนน้ำเปลี่ยนสีให้ยกลง เอากากออกแล้วเอาน้ำตาลใส่ ชิมดูรสชาติหวานปานกลาง พอเย็นลงเก็บใส่ตู้เย็น แก้กระหาย ใช้ดื่มก่อนดื่มเหล้าจะทำให้ดื่มเหล้าได้น้อยลง และทำให้เจริญอาหาร




บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์ และวิธีทำการทดลอง


วัสดุ และ อุปกรณ์ในการทดลอง 


  1. เปลือกมะกรูด ตากแห้ง ½ กิโล


  2. ตะไคร้หอม ตากแห้ง ½ กิโล


  3. เศษเทียน ½ กิโล


  4. สีผสมอาหาร 4 สี

  5. พาราฟิน ½ กิโล

  6. โพลีแอททีลีนแว๊กซ์ P.E.  1 ช้อนโต๊ะ

  7. ไมโครแว๊ก 1 ช้อนชา

  8. สเตียริคแอซิด 1 ช้อนโต๊ะ

  9. ไส้เทียน 3 เส้น

 10. เครื่องปั่นผลไม้

 11. ถ่าน

 12. เตาอั้งโล้

 13. ตะแกรง

 14. หม้อ 3 ใบ

 15. จวัก

 16. น้ำเปล่า 500 มล.

17. แม่พิมพ์

18. ที่คีบถ่าน

19. มีด

20. เขียง

21. ถาด

22. ช้อนโต๊ะ

23. ช้อนชา

24. ไม้ฟืน

25. กล่องนมหมี 2 กล่อง ปริมาตร 8 x 8.5 x 7”

26. ถุงพลาสติกใส

 27. กรรไกร

 28. กาวหนังไก่



 


วิธีการทดลอง


วิธีที่ 1. การทำเทียนหอมด้วยตะไคร้


1. ก่อไฟในเตาอั้งโล่

2. หั่นพาราฟินเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใส่ลงไปในหม้อพร้อมนำตั้งบนตะแกรงที่รองไว้

3. ขณะที่ พาราฟินกำลังหลอมเหลว ใส่โพลีแอททีลีนแว๊กซ์ 1 ช้อนโต๊ะ , ไมโครแว๊ก 1 ช้อนชา,สเตียริคแอซิด 1 ช้อนโต๊ะ รอจนเดือด
4. เมื่อสารที่ผสมไปเดือดแล้ว ใส่ตะไคร้หอมที่บดตากแห้งไว้แล้วใส่รวมลงไปกับสารที่กำลังเดือด
5. ใส่สีผสมอาหารเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
6. ตักเยื้อตะไคร้ใส่ลงไปในแม่พิมพ์ชั้นล่างสุด แล้วตักน้ำเทียนใส ๆ ใส่ลงในแม่พิมพ์ทับกากตะไคร้ชั้นล่าง
7. นำแม่พิมพ์ที่ใส่สารเสร็จแล้ว นำลงไปแช่น้ำเปล่าที่เตรียมไว้เพื่อการแข็งตัวที่เร็วขึ้น
8. รอจนเทียนเริ่มแข็งตัว แล้วปักไส้เทียนลงไปตรงกลาง
9. แกะเทียนออกจากแม่พิมพ์

วิธีที่ 2. การทำเทียนหอมด้วยมะกรูด


1. ใช้หม้อใบที่ 2 ที่เตรียมไว้ตั้งลงไปบนเตา

2. หั่นพาราฟินเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใส่ลงไปในหม้อพร้อมนำตั้งบนตะแกรงที่รองไว้

3. ขณะที่ พาราฟินกำลังหลอมเหลว ใส่โพลีแอททีลีนแว๊กซ์ 1 ช้อนโต๊ะ , ไมโครแว๊ก 1 ช้อนชา , สเตียริคแอซิด 1 ช้อนโต๊ะ รอจนเดือด
4. เมื่อสารที่ผสมไปเดือดแล้ว ใส่เปลือกมะกรูดที่บดตากแห้งไว้แล้วใส่รวมลงไปกับสารที่กำลังเดือด
5. ใส่สีผสมอาหารเพื่อให้มีสีสันสวยงาม

6. ตักเยื้อมะกรูดใส่ลงไปในแม่พิมพ์ชั้นล่างสุด แล้วตักน้ำเทียนใส ๆ ใส่ลงในแม่พิมพ์ทับกากตะไคร้ชั้นล่าง
7.  นำแม่พิมพ์ที่ใส่สารเสร็จแล้ว นำลงไปแช่น้ำเปล่าที่เตรียมไว้เพื่อการแข็งตัวที่เร็วขึ้น
8. รอจนเทียนเริ่มแข็งตัว แล้วปักไส้เทียนลงไปตรงกลาง
9. แกะเทียนออกจากแม่พิมพ์



บทที่ 4

ผลการทดลอง




จากการศึกษา เทียนไขสมุนไพรไล่ยุง  ซึ่งได้ดำเนินการทดลอง เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการไล่ยุงระหว่างเทียนไขผสมใบตะไคร้หอมกับเทียนไขผสมน้ำตะไคร้หอม ได้ผลการศึกษาดังนี้


ตารางแสดงประสิทธิภาพการไล่ยุงระหว่างเทียนไขผสมใบตะไคร้หอมและเทียนไขผสมมะกรูด
รายการ
จำนวนยุงที่บินหนี
5 นาที
10 นาที
15 นาที
เทียนผสมเปลือกมะกรูด
3 ตัว
      4 ตัว
           5 ตัว                  
เทียนผสมตะไคร้หอม
0 ตัว
         3 ตัว  
                
           3 ตัว                  

สรุปผลจากตาราง
ผลการศึกษาพบว่า ในเวลา 5 นาทีเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้ 3 ตัว
เทียนไขผสมตะไคร้หอมไล่ยุงไม่ได้เลย ในเวลา 10 นาทีเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้
4 ตัว เทียนไขผสมตะไคร้หอมไล่ยุงได้  3 ตัว ในเวลา 15 นาทีเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้ 5ตัว เทียนไขผสมตะไคร้หอมไล่ยุงได้  4 ตัว รวมเวลา 15 นาที เทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้  12 ตัว เทียนไขผสมตะไคร้หอมไล่ยุงได้   6 ตัว เพราะฉะนั้นสรุปผลการทดลองได้ว่าเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดมีประสิทธิภาพการไล่ยุงได้ดีกว่าเทียนไขผสมตะไคร้หอม
  




บทที่ 5

สรุปผลและอธิบายผลการทดลอง

5.1 สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษาเรื่องเทียนไขสมุนไพรไล่ยุง  โดยใช้เทียนไข  2  ชนิด คือ เทียนไขผสมตะไคร้หอมและเทียนไขผสมเปลือกมะกรูด การทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพการไล่ยุง ในกล่องทดลองที่บรรจุยุงจำนวน 15 ตัวเท่ากัน ผลการศึกษาพบว่า ในเวลา 5 นาทีเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้ 3 ตัวเทียนไขผสมตะไคร้หอมไล่ยุงไม่ได้เลย ในเวลา 10 นาทีเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้ 4 ตัว เทียนไขผสมตะไคร้หอมไล่ยุงได้  3 ตัว ในเวลา 15 นาทีเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้ 5ตัว เทียนไขผสมตะไคร้หอมไล่ยุงได้  4 ตัว รวมเวลา 15 นาที เทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้  12 ตัว เทียนไขผสมตะไคร้หอมไล่ยุงได้   6 ตัว เพราะฉะนั้นสรุปผลการทดลองได้ว่าเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดมีประสิทธิภาพการไล่ยุงได้ดีกว่าเทียนไขผสมตะไคร้หอม

5.2 อภิปรายผล
จากการทดลองพบว่าเทียนไขผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้ดีกว่าเทียนไขผสมตะไคร้หอม
เพราะในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหย Cilronellal อยู่จำนวนมาก รวมทั้งยังมีกรดซิตริกในน้ำของผลมะกรูด และยังมีสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ เช่น Sabinene  Citronellyl-Floetate , Citronella , Linalool , Iso-pulegol ซึ่งช่วยขับไล่แมลงต่าง ๆ รวมทั้งยุงได้อย่างดี และตะไคร้หอมอุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย มีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor  , cineol , eugenol , linalool , citronellalและ citral ซึ่งมีฤทธิ์ในการไล่ยุง แต่จากผลการทดลองพบว่าเทียนที่ผสมเปลือกมะกรูดสามารถไล่ยุงได้ดีกว่าเทียนผสมตะไคร้หอม

5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ควรนำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดไปตากให้แห้งสนิทก่อน แล้วนำไปบดให้ละเอียดเพราะช่วงที่ทำการทดลองอากาศมืดครึ้มทำให้ตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดไม่แห้งสนิท
5.3.2 ในการทำเทียนไขผสมตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดควรคนเทียนไขให้เข้ากันเมื่อเทียนไขแห้งจะได้เป็นเนื้อเดียวกัน
5.3.3 ในการทดลองควรเพิ่มระยะเวลาในการทดลองให้นานขึ้น











1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นแนวทางในการทำโครงงานได้ดีมากค่ะ สามารถนำมาสานต่อความคิดได้เลยค่ะ

    ตอบลบ